ประธานสภาไทย นับว่ามีบทบาทสำคัญต่อการเมืองอย่างมาก เพราะถือว่าเป็นตำแหน่งผู้นำสูงสุดของฝ่ายนิติบัญญัติ เป็นผู้นำชื่อนายกรัฐมนตรี ขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง และยังเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ
- เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) มาจากการแต่งตั้ง เริ่มปฏิบัติหน้าที่ วันที่ 28 มิถุนายน 2475 – 1 กันยายน 2475
- เจ้าพระยาพิชัยญาติ (ดั่น บุนนาค) มาจากการแต่งตั้ง ปฏิบัติหน้าที่ วันที่ 2 กันยายน 2475 – 10 ธันวาคม 2476
- พลเรือตรี พระยาศรยุทธเสนี (กระแส ประวาหะนาวิน) มาจากการแต่งตั้ง ปฏิบัติหน้าที่ วันที่ 10 มีนาคม 2476 – 22 กันยายน 2477
- เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา ) มาจากการแต่งตั้ง ปฏิบัติหน้าที่ วันที่ 22 กันยายน 2477 – 31 กรกฎาคม 2479
- พระยามานวราชเสวี (ปลอด วิเชียร ณ สงขลา) มาจากการแต่งตั้ง ปฏิบัติหน้าที่ วันที่ 12 ธันวาคม 2481 – 24 มิถุนายน 2486
- เกษม บุญศรี มาจากการแต่งตั้ง ปฏิบัติหน้าที่ วันที่ 4 มิถุนายน 2489 – 10 พฤษภาคม 2490
- พึ่ง ศรีจันทร์ มาจากการแต่งตั้ง ปฏิบัติหน้าที่ วันที่ 13 พฤษภาคม 2490 – 8 พฤศจิกายน 2490
- พระราชธรรมนิเทศ (เพียร ไตติลานนท์) มาจากการแต่งตั้ง ปฏิบัติหน้าที่ วันที่ 15 มิถุนายน – 29 พฤศจิกายน 2494
- พลเอก พระประจนปัจจนึก (พุก มหาดิลก) มาจากการแต่งตั้ง ปฏิบัติหน้าที่ วันที่ 1 ธันวาคม 2494 – 20 กันยายน 2500
- พลเอก หลวงสุทธิสารรณกร (สุทธิ สุขะวาที) มาจากการแต่งตั้ง ปฏิบัติหน้าที่ วันที่ 20 กันยายน 2500 – 14 ธันวาคม 2500
- พลตรี ศิริ สิริโยธิน มาจาก ชลบุรี เขต 1 พรรคสหประชาไทย ปฏิบัติหน้าที่ วันที่ 10 กุมภาพันธ์ – 17 พฤศจิกายน 2514
- ประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์ มาจาก ฉะเชิงเทรา เขต 1 พรรคสังคมชาตินิยม ปฏิบัติหน้าที่ วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2518 – 12 มกราคม 2519
- อุทัย พิมพ์ใจชน มาจาก ชลบุรี เขต 1 พรรคประชาธิปัตย์ปฏิบัติหน้าที่ วันที่ 19 เมษายน 2519 – 6 ตุลาคม 2519
- บุญเท่ง ทองสวัสดิ์ มาจาก ลำปาง เขต 2 พรรคประชาธิปัตย์ ปฏิบัติหน้าที่ วันที่ 9 พฤษภาคม 2522 – 19 มีนาคม 2526
- ชวน หลีกภัย มาจาก ตรัง เขต 1 พรรคประชาธิปัตย์ปฏิบัติหน้าที่ วันที่ 4 สิงหาคม 2529 – 29 เมษายน 2531
- ปัญจะ เกสรทอง มาจาก เพชรบูรณ์ เขต 1 พรรคชาติไทยปฏิบัติหน้าที่ วันที่ 3 สิงหาคม 2531 – 23 กุมภาพันธ์ 2534
- อาทิตย์ อุไรรัตน์ มาจาก ฉะเชิงเทรา เขต 1 พรรคสามัมคีธรรม ปฏิบัติหน้าที่ วันที่ 3 เมษายน 2535 – 30 มิถุนายน 2535
- มารุต บุนนาค พรรคประชาธิปัตย์ ปี 2535 โดยที่ประชาธิปัตย์ ได้ที่นั่ง ส.ส. สูงสุดในสภาฯ 79 ที่นั่ง
- พล.ต.บุญเอื้อ ประเสริฐสุวรรณ ปี 2538 พรรคชาติไทย โดยที่ชาติไทยได้ที่นั่ง ส.ส. สูงสุดในสภาฯ 92 ที่นั่ง
- วันมูหะมัดนอร์ มะทา ปี 2539 พรรคความหวังใหม่ โดยที่ความหวังใหม่ ได้ที่นั่ง ส.ส. สูงสุดในสภาฯ 125 ที่นั่ง
- พิชัย รัตตกุล ปี 2543 พรรคประชาธิปัตย์ จาก "รัฐบาลชวน 2" โดยที่รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ เป็นรัฐบาลจากการดึง ส.ส.พรรคประชากรไทยร่วมตั้งรัฐบาล
- อุทัย พิมพ์ใจชน ปี 2544 พรรคไทยรักไทยโดยที่ไทยรักไทย ได้ที่นั่ง ส.สคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. สูงสุดในสภาฯ 248 ที่นั่ง
- โภคิน พลกุล ปี 2548 พรรคไทยรักไทยโดยที่ไทยรักไทย ได้ที่นั่ง ส.ส. สูงสุดในสภาฯ 377 ที่นั่ง
- ยงยุทธ ติยะไพรัช ปี 2551 พรรคพลังประชาชนโดยที่พลังประชาชน ได้ที่นั่ง ส.ส. สูงสุดในสภาฯ 233 ที่นั่ง
- ชัย ชิดชอบ ปี 2551 พรรคภูมิใจไทย (ก่อนหน้านั้นระหว่างดำรงตำแหน่งสังกัดพรรคพลังประชาชน) สมัยรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ หลังจากมีการยุบพรรคการเมือง 3 พรรค ได้แก่ พลังประชาชน, ชาติไทย และมัชฌิมาธิปไตย ชัย ชิดชอบ ย้ายไปพรรคภูมิใจไทย ซึ่งเปลี่ยนขั้วมาเข้าร่วมรัฐบาลกับประชาธิปัตย์
- สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ปี 2554 พรรคเพื่อไทยโดยที่เพื่อไทย ได้ที่นั่ง ส.ส. สูงสุดในสภาฯ 265 ที่นั่ง
- พรเพชร วิชิตชลชัย ปี 2557 ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) แต่งตั้งโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)
- ชวน หลีกภัย พรรคประชาธิปัตย์ ปี 2562 (ประชาธิปัตย์มีที่นั่งในสภาฯ 52 เสียง เป็นพรรคอันดับ 4 ) ถือเป็นประธานสภาฯ คนแรก ที่ไม่ได้มาจากพรรคการเมืองที่ได้คะแนนเสียงเลือกตั้งเป็นอันดับ 1
ทั้งนี้ ลำดับประธานสภาจะระบุเฉพาะประธานสภาผู้แทนราษฎร ที่มาจากการเลือกตั้งและแต่งตั้ง แต่จะไม่นับประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ สภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ที่มาจากการแต่งตั้ง หลังการเกิดรัฐประหาร
ที่มา : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร