คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)มีแนวโน้มที่จะคงดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 2.25% ในการประชุมกนง. วันที่ 27 ก.ย. ที่จะถึงนี้ เนื่องจากเศรษฐกิจไทยมโมเมนตัมชะลอลงสะท้อนผ่านตัวเลขจีดีพีในไตรมาส 2/2566 ที่ออกมาต่ำกว่าคาด ขณะที่ เงินเฟ้อทั่วไปและเงินเฟ้อพื้นฐานก็อยู่ระดับต่ำกว่าเป้าหมายของกนง. ที่ 1-3% อย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ แม้ว่าเงินเฟ้อทั่วไปของไทยเดือนส.ค. ที่ผ่านมาจะปรับสูงขึ้นจากระดับ 0.38 ใน เดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ 0.88% แต่ก็ถูกขับเคลื่อนด้วยราคาพลังงานที่ปรับสูงขึ้นตามราคาน้ำมันในตลาดโลกเป็นหลัก
ข่าวดี โออาร์-บางจาก ลดเบนซิน 50 สต. มีผลพรุ่งนี้ตี 5
ค่าเงินบาทวันนี้ เปิดตลาดแข็งค่าเล็กน้อย 35.97 จากดอลลาร์ย่อตัว เฟดยังเป็นปัจจัยหลัก
นอกจากนี้ ในด้านความเสี่ยงทางเศรษฐกิจ เศรษฐกิจไทยมีโมเมนตัมชะลอลง โดยตัวเลข GDP ในไตรมาส 2/2566 ขยายตัว ต ่ากว่าคาดที่ 1.8% ในขณะที่ ทิศทางเศรษฐกิจไทยในระยะข้างหน้ายังคงเผชิญความเสี่ยงจากการชะลอตัว ของเศรษฐกิจโลกที่จะกดดันการส่งออกและการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวของไทย
ดังนั้น คาดว่ากนง.จะมีมติคงดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมกนง. ที่จะถึงนี้ อย่างไรก็ดีศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า กนง. อาจยังคงส่งสัญญาณเปิดโอกาสปรับขึน้ ดอกเบี้ยต่อในระยะข้างหน้า ท่ามกลางความกังวลด้านเงินเฟ้อที่ยังมีอยู่จากราคาพลังงานและราคาอาหารใน ตลาดโลก โดยทิศทางนโยบายการเงินในระยะข้างหน้าคงยืดหยุ่นไปตามภาวะเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ เป็นสำคัญ
ทั้งนี้ จากการส่งสัญญาณของกนง. ในการประชุมครั้งก่อน ยังคงมีความกังวลเกี่ยวกับการกลับมา เร่งขึ้นของเงินเฟ้อ ซึ่งเป็นผลจากปรากฎการณ์เอลนีโญที่อาจส่งผลให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ประเภทอาหารปรับ ท่ามกลางโมเมนตัมเศรษฐกิจไทยที่ชะลอลงและเงินเฟ้อที่ปรับลดลง มาอยู่ต่ำกว่าระดับเป้าหมายของกนง. ที่ 1-3% อย่างต่อเนื่อง ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่ากนง. มีแนวโน้มที่จะคงดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 2.25% ในการประชุมวันที่ 27 กย. ที่จะถึงนี้
อย่างไรก็ดี คาดว่ากนง.จะยังคงส่งสัญญาณเปิดโอกาสปรับขึ้นดอกเบี้ยต่อ ท่ามกลางความกังวลด้านเงินเฟอ้ ที่ยังมีอยู่จากราคาพลังงานและราคาอาหารในตลาดโลก โดยทิศทางนโยบายการเงินใน ระยะข้างหน้าคงยืดหยุ่นไปตามภาวะเศรษฐกิจและเงินเฟ้อเป็นส าคัญ การประชุมกนง. วันที่ 27 ก.ย. 66 คาดกนง. คง ดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 2.25% ในขณะที่ยังไม่ปิดโอกาสปรับขึ้นดอกเบี้ยต่อในระยะข้างหน้าสูงขึ้น
อีกทั้งราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกยังคงมีความเสี่ยงที่จะทรงตัวในระดับสูง โดยกลุ่มประเทศผู้ส่งออก 2 น้ำมัน (OPEC+) มีแนวโน้มที่จะยังคงจำกัดปริมาณการผลิตน้ำมันท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก นอกจากนี้ กนง.ยังเผชิญแรงกดดันจากการอ่อนค่าลงอย่างมีนัยสำคัญของค่าเงินบาท ทำให้คาดว่าในการประชุมครั้งนี้
กนง.อาจยังคงส่งสัญญาณเปิดโอกาสปรับขึ้นดอกเบี้ยต่อในระยะข้างหน้า อย่างไรก็ตาม เมื่อมองไปข้างหน้า ศูนย์วิจัยกสิกรไทยยังคงให้น้ำหนักต่อกรณีกนง.สิ้นสุดวัฏจักร ดอกเบี้ยขาขึ้นและคงดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 2.25% ไปอย่างน้อยจนถึงสิ้นปี 2566 หากแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อไม่เปลี่ยนแปลงจากที่คาดอย่างมีนัยสำคัญ โดยมีปัจจัยสนับสนุนดังต่อไปนี้
- แม้ว่าเงินเฟ้อจะยังมีความเสี่ยงที่จะปรับสูงขึ้นตามราคาอาหารและราคาพลังงานในตลาดโลก แต่คาด ว่ามาตรการลดค่าครองชีพจากทางภาครัฐ อาทิ มาตรการปรับลดค่าไฟและอุดหนุนนน้ำมัน คงจะช่วยลดแรงกดดดันด้านเงินเฟ้อได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งเงินเฟ้อมีแนวโน้มที่จะยังทรงตัวอยู่ในกรอบเป้าหมาย ของกนง. ที่ 1-3% ต่อไปในระยะข้างหน้า
- แม้ว่าจะมีแรงกดดันจากการอ่อนค่าของค่าเงินบาท แต่กนง. ยังคงมีเครื่องมืออื่นๆ อาทิ การใข้เงินสำรองระหว่างประเทศในการใช้ดูแลความผันผวนของค่าเงินบาท ขณะที่ ในระยะข้างหน้าค่าเงินบาท อาจได้รับแรงหนุนจากการฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยวที่ช่วยให้ดุลบัญชีเดินสะพัดพลิกกลับมาเป็นบวกได้
- ท่ามกลางโมเมนตัมการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ชะลอลง กนง.คงเผชิญข้อจำกัดในการปรับขึ้นดอกเบี้ยต่อ นอกจากนี้ แรงกดดันจากนโยบายการเงินของต่างประเทศมีแนวโน้มที่จะลดลงในระยะข้างหน้า เนื่องจากธนาคารกลางหลักต่าง ๆ มีแนวโน้มที่จะเข้าใกล้จุดสูงสุดของวัฏจักรดอกเบี้ยขาขึ้น
ดังนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทยจึงมองความเป็นไปได้ว่า กนง. อาจคงดอกเบี้ยที่ระดับ 2.25% ตลอดจนถึงสิ้นปีนี้
ด่วน! บุกค้นบ้าน “บิ๊กโจ๊ก” โยงพนันออนไลน์ คำพูดจาก เว็บตรง
ประกาศฉบับที่ 2 “พายุดีเปรสชัน” เตือน! ฝนตกหนัก 26-29 ก.ย. นี้
โปรแกรมการแข่งขัน เอเชียนเกมส์ 2022 ของนักกีฬาไทย วันที่ 25 ก.ย. 66