ความคืบหน้ากรณี หัวหน้าฝ่ายรายได้ สำนักงานเขตราชเทวี เรียกรับเงิน 3.2 ล้าน เลี่ยงภาษี 40 ล้านบาท ล่าสุด ผู้บังคับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ตอนนี้อยู่ระหว่างการขยายผลตรวจค้นบ้านผู้ต้องหาและคนใกล้ชิด พบทรัพย์สินแล้วกว่า 100 ล้านบาท และยิ่งไปกว่านั้น ตอนนี้เชื่อว่า ผู้ก่อเหตุ เคยหลอกผู้ประกอบการมาแล้วกว่า 100 รายและเตรียมแจ้งข้อหาข้าราชการคนอื่นเพิ่มเติมอีก
พล.ต.ต.จรูญเกียรติ ปานแก้ว ผู้บังคับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ เปิดเผยวันนี้
ด่วน! ศาลแพ่ง ถอนคุ้มครองชั่วคราวพรรคภูมิใจไทย หลัง "ชูวิทย์" ร้อง ชี้วิจารณ์กัญชาได้
เลือกตั้ง 2566 : กกต. พิมพ์ "บัตรโหล" เสี่ยงประชาชนกาผิดคน คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
โดยบอกว่า หลังเข้าไปตรวจสอบทั้งบ้านและคอนโด ที่เชื่อมโยงกับนายประมวล หัวหน้าฝ่ายรายได้ สำนักงานเขตราชเทวี พบ สมุดบันทึก มากกว่า 10 เล่ม และถุงเอกสาร อีกกว่า 9 ถุง รายชื่อผู้ประกอบการที่เคยถูกเรียกรับเงินอีกกว่า 100 ราย
รวมถึงมีข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลระดับสูง และ รายชื่อผู้ที่รับผลประโยชน์ ที่มีตั้งแต่ระดับต่ำกว่าไปถึงสูงกว่า ถูกบันทึกไว้ เบื้องต้นพบว่ามีผู้เกี่ยวข้อง 10 คน แต่ยังไม่ขอเปิดเผย
ข้อมูลดังกล่าว สอดคล้องกับเอกสารที่ทีมข่าวได้มาจากแหล่งข่าว เป็นหน้าเอกสารที่คาดว่าน่าจะเป็นสมุดบันทึกที่พบที่บ้านและคอนที่เกี่ยวข้องกับนายประมวล จากภาพ มีการเบลอข้อมูลสำคัญเอาไว้ แต่ ที่หัวเอกสร มีคำว่า
ปี 2561 เป้าหมาย 1 ล้… รวมถึง มีคำว่า เคลียร์ของเก่า 1 ล้าน + ค่าใช้จ่าย ขณะที่ในหน้ากระดาษนี้ ไล่ลำดับตัวเลข จาก 1 – 38 บางลำดับมีการไฮไลท์สีเอาไว้ ส่วนตารางแนวนอน มีการเขียนคำว่า ผู้รับประเมิน , เบอร์โทรศัพท์ , ยอดภาษี เป็นต้น
ขณะที่อีกภาพ เป็นแฟ้ม ที่มีหน้าแฟ้มเขียนว่า ซื้อพระเพื่อสะสม เงินปี 2564
ส่วนเรื่องการโอนเงินผ่านบัญชีให้สาวคนสนิท 5 ล้านบาท ที่เจ้าหน้าที่ไปตรวจคอนโดเมื่อวานนี้ พล.ต.ต.จรูญเกียรติ บอกว่า พบข้อมูล เงินเข้าออกบัญชีสาวคนสนิทคนนี้ 3-4 ครั้ง ครั้งละ หลักแสน ถึง หลักล้าน รวมถึงพบว่า มีการนำเงินไปลงทุนซื้อขายทองคำ อสังหาริมทรัพย์ สะสมพระเครื่อง และพระพุทธรูป รวมทรัพย์สินที่ตรวจยึดไปทั้งหมดแล้วกว่า 100 ล้านบาท
ด้าน พ.ต.อ.ธนวัฒน์ หิ้นยกฮิ่น ผกก.1.บก.ปปป.ให้ข้อมูลว่า เบื้องต้นพบว่าผู้ต้องหากระทำความผิดตั้งแต่ปี 61 ขณะนั้นทำงานอยู่ในส่วนของฝ่ายรายได้ สำนักงานเขตพญาไท ต่อมาได้ย้ายมาดำรงตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายรายได้ ที่สำนักงานเขตราชเทวี จนถึงปัจจุบัน ตลอดระยะเวลาที่ทำมีพฤติกรรมการเรียกรับเงินอย่างต่อเนื่อง ในส่วนนี้จะต้องรวบรวมพยานหลักฐานในการเอาผิดเพิ่มเติม
เจ้าหน้าที่อยู่ระหว่างประชุมแบ่งชุดทำงานตรวจสอบเอกสารและพยานหลักฐานอื่นๆ เพิ่มเติม เพื่อขยายผลหาผู้ร่วมกระทำผิดต่อไป ส่วนกรุงเทพมหานคร ล่าสุดมีคำสั่งพักราชการ นายประมวล หัวหน้าฝ่ายรายได้ สำนักงานเขตราชเทวี หลังก่อนหน้านี้ สั่งย้ายให้ไปสังกัดสำนักปลัด ตั้งแต่ 5 เมษายน และตั้งกรรมการสอบวินัยร้ายแรง
คำสั่งกรุงเทพมหานคร ลงวันที่วันนี้ 7 เมษายน 2566 นายขจิต ชัชวานิชย์ ปลัดกทม. ลงนาม สั่งให้พักราชการ นายประมวล หัวหน้าฝ่ายรายได้ สำนักงานเขตราชเทวี หลังถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงจนถูกตั้งกรรมการสอบ จากกรณีที่ ถูกจับกุมฐานเรียกรับส่วยภาษี
ขณะที่ในเอกสาร สั่งพักงาน มีเงินเดือนของนายประมวลเขียนไว้ด้วย พบว่าปัจจุบัน เขาเงินเดือน 44,930 บาท
ทีมข่าวพีพีทีวี ยังได้คุยกับ นายณันทพงศ์ สินมา ผู้อำนวยการเขตราชเทวีอีกครั้ง พบว่า ตอนนี้ มีการสั่งการ เจ้าหน้าที่ฝ่ายรายได้ ให้เข้าไปประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน บริเวณโซนที่ตั้งของสถานประกอบการของผู้เสียหาย หลังมีคำถามว่า การประเมินภาษีที่หัวหน้าฝ่ายรายได้ เขตราชเทวี ไปเรียกเก็บจากผู้เสียหายจำนวน 40 ล้านบาท สูงเกินจริงหรือไม่
จากการตรวจสอบเบื้องต้น พบว่าอาคารแห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อปี 56 เป็นลักษณะพลาซ่า ไม่เคยมีการเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินเลยเป็นระยะเวลา 6 ปี
จนเมื่อปี 62 มีกฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง จึงเริ่มมีการจ่ายภาษี และในปีนี้ 2566 ที่มีการเรียกเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดิน 40 ล้านบาท พบว่า ส่วนหนึ่งเป็นค่าภาษีย้อนหลังในช่วง 6 ปีที่ไม่ได้จ่าย ราวๆ 20 ล้านบาท รวมกับค่าภาษีของปีนี้ที่ประเมินอ้างอิงจากปีที่แล้ว คาดว่า ประมาณ 20 กว่าล้านบาท รวมเป็น 40 ล้านบาท ซึ่งไม่ใช่ตัวเลขที่เกินจริง อีกประเด็นที่มีการตั้งคำถามว่า พฤติกรรมของหัวหน้าฝ่ายรายได้ เขตราชเทวี ทำให้รายได้ของเขตราชเทวีต่ำกว่าความเป็นจริง นายณันทพงศ์ ระบุว่า การจัดเก็บภาษี เขตราชเทวีเก็บภาษีเกินจากที่ประมาณการมาโดยตลอด อย่างปีที่แล้วประมาณการภาษีที่จะเก็บได้ 240 กว่าล้านบาท แต่เขตราชเทวีเก็บภาษีได้ 300 กว่าล้านบาท เกินกว่าที่ประมาณการณ์ถึง 40 เปอร์เซนต์
ขณะเดียวกัน ข้อมูลนี้ยังสอดคล้อง กับคำอธิบายของนายจักกพันธุ์ ผิวงาม รองผู้ว่ากรุงเทพมหานคร ที่ให้ข้อมูลว่า ปีที่ผ่านมากรุงเทพมหานครจัดเก็บรายได้เกินจากที่ประมาณการไว้ โดยภาพรวมประมาณการไว้ที่ 79,000 ล้านบาท แต่สามารถเก็บรายได้ได้ 80,000 ล้านบาท
โดยการจัดเก็บรายได้ในแต่ละปี นายจักกพันธุ์ บอกว่า จะมีสำนักการคลัง กรุงเทพมหานคร เป็นผู้ตั้งเป้าโดยนำรายได้ที่จัดเก็บได้ในปีที่ผ่านมามาพิจารณา และตั้งเป้าเป็นรายไตรมาส และรายปี ก่อนจะส่งต่อไปยังสำนักงานเขตให้จัดเก็บรายได้ให้ได้ตามเป้า
ส่วนก่อนหน้านี้ ที่เรานำเสนอไปว่า ยอด 6 เดือน ภาษีไม่ถึงเป้า นายจักรพันธุ์ ชี้แจงว่าต้องดูทั้งปี เพราะแต่ละไตรมาสได้ไม่เท่ากัน